![]() |
https://online.fliphtml5.com/szjkb/rglc/ |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
ผู้อยู่ในเหตุการณ์คราวนั้นได้เล่า ด้วยน้ำเสียงเสมือนภาพในวันนั้นไม่มีวันลบเลือนจากความทรงจำ
"ตอนนั้นทุกคนยังอยู่ในไร่ เช่น เถ้าแก่จี้มุ้ย แซ่เจา เถ้าแก่เปีย แซ่เล้า เถ้าแก่ผ่อง แซ่เจา แต่ด้วยความศรัทธาจึงได้มาช่วยกันด้วยความเต็มใจ หลังจากสมหวังกันแล้วก็ได้นัดกันไปแก้บน เตรียมเครื่องเซ่นไปมีหัวหมู เหล้า ผลไม้ ขนมและยาฝิ่น รวมตัวกันที่ตลาดประมาณ ๔๐ คน สมัยนั้นนับว่ามีคนชุมนุมกันมากที่สุด บางคนเดินเท้า บางคนใช้รถจักรยาน ในช่วงนั้นมีคนทรงเจ้ามาจากราชบุรี เขามาเยี่ยมญาติที่อยู่แถวนี้ เลยเชิญเขามาประทับทรงด้วย เมื่อไปถึงได้จุดธูปบอกเล่าแก้บนกัน เสร็จแล้ว ก็ได้ให้คนทรงเจ้าเชิญเจ้าพ่อประทับทรง ใครมีปัญหาอะไรก็ถามให้เจ้าพ่อช่วยชี้แนะ"
ด้วยความศักด์สิทธ์ที่ทุกคนได้ประจักษ์เช่นนั้น ชาวบ้านตลาดเขตจึงปรึกษากันถึงการย้ายศาลพ่อปู่เขาคลุกคลีมาอยู่ในสถานที่กลางชุมชนในปัจจุบัน คุณสุรศักด์ ศิวะพรชัย อดีตกำนันตำบลรางหวายได้เล่าว่า
"เจ้าพ่อปู่บอกว่าระหว่างนี้อยู่ในพรรษา เหล้าและยาฝิ่นของดเว้น ศาลนั้นก็เอาหญ้ามุงให้ก็พอ แล้วมีคนถามขึ้นว่า ศาลทีนี่ท่านพ่อปู่ให้ใช้มุงแฝก ส่วนตัวไม้และสังกะสีที่เตรียมมาให้นำกลับไปปลูกที่ตลาด ขอเชิญพ่อปู่ไปประทับปกปักรักษา คุ้มครองกลุ่มลูกช้างได้ไหม พ่อปู่ก็บอกว่า เออ ดี คุณแย่ แซ่เจาจึงเสนอขึ้นว่า ถ้าปลุกศาลให้พ่อปู่ที่ตลาดผมยกที่ดินให้ฟรี แล้วจึงได้เชิญพ่อปู่ไปดูที่ซึ่งคุณแย่ให้ที่ดินซึ่งเป็นคอกวัว พ่อปู่ในร่างทรงเห็นแล้วสั่นหัวว่า สถานที่ไม่เหมาะสม ดังนั้น เถ้าแก่จี้มุ้ย แซ่เจาจึงเสนอขึ้นว่า ปลูกศาลเจ้าพ่อนั้นต้องเป็นที่ใกล้ทางสี่แยกหรือสามแยกจึงจะดี เป็นมงคล คนผ่านไปมาจะได้กราบไหว้โดยสะดวก แล้วก็เชิญพ่อปู่ไปดูฝั่งถนนด้านตะวันออกใกล้สามแยกเป็นไร่ของแป๊ะจอก ไม่ทราบนามสกุล เถ้าแก่จี้มุ้ยก็บอกว่า ถ้าเห็นว่าเหมาะสมแล้วก็จะติดต่อให้ สมัยก่อนนั้นที่ดินราคาถูกมาก ถ้าพอใจยกให้กันฟรี ๆ ก็มี เมื่อพ่อปู้มาเห็นที่แล้วก็ยิ้มชอบใจ บอกปลูกศาลตรงนี้ดี มีความเจริญ แต่ต้องหันหน้าศาลไปให้ตรงเขา ดังนั้น ชาวบ้านจึงมอบหมายให้เถ้าแก่จี้มุ้ยไปติดต่อขอที่ดินกับเจ้าของคือแป๊ะจอกกับนางชิ้น ซึ่งทั้งสองตา-ยายก็ได้มอบให้ด้วยความเต็มใจ หลังจากนั้น ก็ร่วมกันวางแผนปลูกศาลให้พ่อปู่ตรงทางสี่แพร่ง สถานที่ที่ปรากฏในปัจจุบัน และเมื่อตกลงจะสร้างศาลก็เกิดเหตุการณ์มหัศจรรย์อีก คือ ฝนที่ขาดหายไปก็ตกลงมาอย่างมากมาย จนสระน้ำของทุกบ้านเต็มไปหมด พืชพันธ์ต่าง ๆ ได้ผลผลิตเป็นอย่างดี ชาวบ้านจึงได้ช่วยกันสร้างศาลเป็นฝาไม้กระดาน มุงสังกะสี แล้วอัญเชิญพ่อปู่มาสิงสถิตย์"
นับแต่บัดนั้นเป็นต้นมา พ่อปู่เขาคลุกคลีได้รับการขนานนามใหม่จากชาวบ้านตลาดเขตว่า เจ้าพ่อเขาคลุกคลี ส่วนบารมีของท่านนั้นยังเล่าขานกันว่า
"ประชาชนมาบนบานศาลกล่าวแล้วได้ผลตามต้องการ จึงมีการแก้บนตามที่อธิษฐานไว้ ไม่ว่าจะเป็นสิ่งของ เช่น พวงมาลัย ผลไม้ มหรสพ ภาพยนตร์ งิ้ว หนังตะลุง ลิเก ในเทศกาลสำคัญเช่น ตรุษจีน สารทจีน จะมีคนนำเครื่องเซ่นไหว้มากราบไหว้กันมากมาย แสดงถึงบารมีความศักด์สิทธ์ ซึ่งเป็นสิ่งหนึ่งที่ทำให้เป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของชาวบ้านตลาดเขตให้รวมกันเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน"
จากความสามัคคีกันของชาวบ้านตลาดเขตสามารถสร้างศาลเจ้าพ่อเขาคลุกคลีหลังใหม่เป็นเงินนับสิบล้านบาท โดยทำพิธีเปิดศาลเมื่อวันที่ ๒๓ ตุลาคม ๒๕๓๗ เนื่องจากชาวบ้านตลาดเขตมีความผูกพันกับพื้นที่สองจังหวัดหรือสองเขต จึงอัญเชิญดินจากศาลเจ้าพ่อหลักเมืองกาญจนบุรีมาเป็นประธานฝ่ายขวา อัญเชิญดินศาลเจ้าพ่อหลักเมืองสุพรรณบุรีมาเป็นประธานฝ่ายซ้าย โดยมีเจ้าพ่อเขาคลุกคลีสถิตย์อยู่ตรงกลาง"
ศาลเจ้าพ่อเขาคลุกคลีตั้งอยู่หมู่บ้านตลาดเขตริมถนนสายอู่ทอง-กาญจนบุรี หากผู้อ่านมีโอกาสผ่านไปก็อย่าลืมไปกราบไหว้ขอพรหรือศึกษาประวัติความเป็นมาของท้องถิ่น ซึ่งถือว่าเป็นประวัติศาสตร์ชุมชนที่น่าศึกษาเรียนรู้
|